อัตราค่าบริการ
ผ่าตัดแปลงเพศจากชายเป็นหญิง
Gender Affirmation Snuggery - Male to Female
เทคนิคต่อกราฟ (Penile skin inversion scrotal skin graft) – 300,000 บาท
เทคนิคต่อลำไส้ (Rectosigmoid Vaginoplastry) – 600,000 บาท
การผ่าตัดแปลงเพศ
จากชายเป็นหญิง
ผ่าตัดแปลงเพศ (Sex Reassignment) เป็นการผ่าตัดศัลยกรรมเปลี่ยนแปลงเพศสภาพภายนอกให้ตรงกับสภาพจิตใจของผู้ป่วยที่ต้องการเข้ารับการผ่าตัด โดยมีทั้งการผ่าตัดแปลงเพศจากชายเป็นหญิง แม้วิทยาการในปัจจุบันจะก้าวหน้ามากขึ้น แต่การผ่าตัดแปลงเพศก็ยังคงเป็นวิธีการที่มีความซับซ้อน ผู้ป่วยไม่สามารถเปลี่ยนสภาพร่างกายไปเป็นเพศที่ตรงข้ามกับเพศกำเนิดของตนเองได้อย่างสมบูรณ์ และการผ่าตัดอาจส่งผลต่อสภาพจิตใจ การทำงาน การเข้าสังคม และการใช้ชีวิตไปตลอดชีวิตของผู้ป่วย การแปลงเพศจึงเป็นการผ่าตัดใหญ่ที่ผู้ป่วยควรตัดสินใจอย่างรอบคอบภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์
ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดแปลงเพศ จะต้องรับการตรวจจากจิตแพทย์ว่าได้ผ่านการทดสอบ โดยมีคุณสมบัติความพร้อมมาตรฐานโลกของสมาคม เบนจามิน แฮร์ริสันดังนี้
อ่านเพิ่มเติม- มีอายุมากกว่า 20 ปี (หากอายุต่ำกว่า 20 ปี ต้องมีจดหมายยินยอมจากผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลตามกฎหมาย)
- ได้ดำรงชีวิตแบบผู้หญิงติดต่อกันเป็นระยะยาวนานกว่า 1 ปีขึ้นไป
- เคยใช้ชีวิตแบบผู้หญิงอย่างสมบูรณ์ที่คนรอบข้างยอมรับได้ และคุณมีความสุขโดยไม่มีความกดดันใด ๆ
- เคยรับประมาณฮอร์โมนเพศหญิงมาก่อน ไม่วาจะเป็นในรูปยารับประทานหรือยาฉีดอย่างน้อย 1 ปี
- ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Gender identity disorder , Gender dysphoria
- ได้ผ่านการประเมินสภาพจิตใจว่าอยู่ในภาวะที่ปกติและพร้อมกับการผ่าตัดโดยจิตแพทย์หรือนักจิตเวช และให้ใบรับรอง สำหรับการผ่าตัดอย่างถูกต้องตามหลักการทดสอบสภาพจิต
- ต้องมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์
- ไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นข้อห้ามในการผ่าตัด เช่น โรคที่มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด (Hemophilia) โรคที่มีความผิดปกติของการหายของแผล (Ehlers-Danlos Syndrome)
ตัวอย่างเคสคนไข้
การปรึกษาแพทย์ก่อนแปลงเพศ
การปรึกษาแพทย์มักจะต้องเตรียมตัวดังนี้
- มีใบรับรองแพทย์จากจิตแพทย์ 2 ท่าน ท่านละ 1 ใบ ระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน นับจากวันที่ขอ (หากเป็นชาวต่างชาติ ต้องมีใบรับรองแพทย์จากจิตแพทย์ประเทศนั้นๆมา 1 ใบ และมีใบรับรองแพทย์จากแพทย์ในประเทศไทยอย่างน้อย 1 ใบ)
- ความลึกของช่องคลอดที่ต้องการ
- ลักษณะของแคมนอกและแคมใน ต้องการขนาดความเล็กหรือใหญ่
- ขนาดของจุดรับความรู้สึก
โดยทั่วไปในเทคนิคปัจจุบัน จะมีรายละเอียดของอวัยวะเพศภายนอก ได้แก่
- แคมนอก
- แคมใน
- คลิตอริส
- ท่อปัสสาวะ
- ช่องคลอด
โดยแคมในและคลิตอริส เป็นส่วนที่มาจากส่วนปลายของอวัยวะเพศชายและหนังหุ้มอวัยวะเพศ โดยที่ศัลยแพทย์แต่ละท่านจะมีเทคนิคการทำคลิตอริสและแคมในต่างกัน สำหรับส่วนที่เป็นแคมนอกมักใช้ผิวหนังบริเวณอัณฑะมาทำซึ่งมักจำมีเทคนิคใกล้เคียงกัน โดยทั่วไป เทคนิคการผ่าตัดจะคล้ายคลึงกัน แต่จะมีความแตกต่างกันในส่วนของรายละเอียด ซึ่งขึ้นกับอวัยวะเดิมจะมีเนื้อเยื่อที่จะใช้มากหรือน้อย และขึ้นกับความต้องการของคนไข้แต่ละคน
เทคนิคการแปลงเพศจากชายเป็นหญิง
การผ่าตัดแปลงเพศจากชายเป็นหญิง แบ่งได้เป็น 2 แบบใหญ่ ๆ ตามเทคนิคที่ใช้สร้างช่องคลอด ได้แก่ เทคนิคต่อกราฟ และ เทคนิคที่ใช้เนื้อเยื่อจากช่องท้อง ได้แก่ การต่อลำไส้
เทคนิคต่อกราฟ
เทคนิคต่อกราฟ หมายถึง การผ่าตัดแปลงเพศโดยใช้ผิวหนังอวัยวะเพศเดิมมาสร้างเป็นช่องคลอดใหม่ วิธีนี้ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดช่องท้อง และหลีกเลี่ยงการเกิดแผลเป็นบริเวณหน้าท้องได้ ความลึกของช่องคลอดจะขึ้นอยู่กับสรีระของอุ้งเชิงกรานคนไข้เป็นหลัก โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 5.5-6 นิ้ว
เทคนิคต่อกราฟเป็นวิธีมาตรฐานสำหรับการผ่าตัดแปลงเพศครั้งแรก มีความซับซ้อนไม่มาก และความเสี่ยงไม่สูง อย่างไรก็ตามหลังผ่าตัดจะต้องมีการดูแลช่องคลอดใหม่ด้วยการขยายช่องคลอด (แยงโม) อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วง 1 ปีแรก
อ่านเพิ่มเติมเทคนิคต่อกราฟ จะสามารถสร้างอวัยวะเพศหญิงภายนอกได้ครบถ้วนและสมบูรณ์ ซึ่งมีองค์ประกอบได้แก่ คลิตอริส (clitoris) กลีบหุ้มคลิตอริส (clitoral hood and frenulum) แคมนอก (labia majora) แคมใน (labia minora) และรูเปิดท่อปัสสาวะ (urethral orifice) อีกทั้งยังสามารถเก็บเส้นประสาทรับความรู้สึกในจุดต่าง ๆ ไว้ได้ครบถ้วนอีกด้วย
ในกรณีที่คนไข้มีผิวหนังอวัยวะเพศน้อย ซึ่งอาจไม่เพียงพอในการต่อกราฟ แต่ไม่ต้องการที่จะผ่าตัดช่องท้อง สามารถเลือกวิธีต่อกราฟ โดยใช้ผิวหนังจากบริเวณอื่นได้เช่นกัน เช่น จากขาหนีบหรือต้นขา แต่ข้อเสียคือจะมีรอยแผลเป็นเพิ่มเติมในบริเวณที่นำผิวหนังมาใช้
ข้อดี-ข้อเสียของเทคนิคนี้
- สามารถสร้างอวัยวะเพศภายนอกได้ครบถ้วนสมบูรณ์
- สามารถสร้างอวัยวะเพศภายนอกได้ครบถ้วนสมบูรณ์ได้ช่องคลอดที่มีความลึกและใช้งานได้จริง
- ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดช่องท้อง
- ช่องคลอดสามารถตีบตันหรือตื้นลงได้ หากดูแลได้ไม่ดีพอ
- ไม่มีสารหล่อลื่นภายในช่องคลอด
- อาจมีแผลเป็นเพิ่มเติมในกรณีที่นำกราฟจากบริเวณอื่นมาใช้
เทคนิคการต่อลำไส้
เทคนิคการต่อลำไส้ต้องทำการผ่าตัดช่องท้อง และใช้ลำไส้ใหญ่มาสร้างเป็นช่องคลอด วิธีนี้มีข้อดีคือสามารถสร้างช่องคลอดที่มีความลึกได้มากขึ้น มีความคงทนแข็งแรง และไม่มีการตีบตัน อย่างไรก็ตามบริเวณ “ปากทางเข้าช่องคลอด” ยังสามารถตีบแคบลงได้ จากการหดตัวของบาดแผล ดังนั้นผู้ที่แปลงเพศด้วยวิธีนี้จึงยังต้องขยายช่องคลอด เพื่อป้องกันการหดแคบลงของบริเวณปากทางเข้า
เทคนิคการต่อลำไส้ มักใช้ในการผ่าตัดแก้ไขเพิ่มความลึก หรืออาจทำเป็นการผ่าตัดครั้งแรกก็ได้ ในกรณีที่คนไข้มีผิวหนังอวัยวะเพศน้อย โดยลักษณะของอวัยวะเพศภายนอกจะเหมือนกับแบบต่อกราฟทุกประการ
อ่านเพิ่มเติมผนังช่องคลอดที่สร้างจากลำไส้จะมีเยื่อเมือก ซึ่งมีลักษณะเหนียวข้น และขังอยู่ภายใน ดังนั้นบริเวณปากทางเข้าจึงมักจะแห้ง แพทย์จึงแนะนำให้ใช้สารหล่อลื่นทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันการเกิดบาดแผลถลอกจากการเสียดสี
ผู้ที่ผ่าตัดแปลงเพศด้วยการต่อลำไส้ จะต้องมีการดูแลตนเองในระยะยาวมากกว่าเทคนิคอื่น ๆ จะต้องตรวจติดตามกับแพทย์อย่างสม่ำเสมอ หมั่นคอยตรวจเช็คว่าปากทางเข้ายังคงเปิด เพื่อให้เมือกสามารถระบายออกมาได้ มิเช่นนั้นอาจเกิดภาวะช่องคลอดอุดตัน (neovaginal closed loop obstruction) และหากต้องการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยการส่องกล้อง จะต้องส่องกล้องตรวจภายในช่องคลอดด้วย นอกจากนี้การผ่าตัดเข้าไปในช่องท้อง อาจทำให้เกิดพังผืด (adhesion band) ซึ่งอาจทำให้มีอาการปวดท้องขึ้นในอนาคตได้
ข้อดี-ข้อเสียของเทคนิคนี้
- ช่องคลอดมีความลึก มีความคงทนแข็งแรง
- มีเยื่อเมือกภายในช่องคลอด
- สามารถสร้างอวัยวะเพศภายนอกได้ครบถ้วนสมบูรณ์
- มีความรู้สึกทางเพศ และถึงจุดสุดยอดได้
- ต้องผ่าตัดช่องท้อง และต้องตัดต่อลำไส้
- ปากทางเข้าช่องคลอดอาจตีบตันได้ ถ้าหากขยายได้ไม่ดี
- มีโอกาสเกิดโรคต่าง ๆ ของลำไส้ได้ เช่น มะเร็งลำไส้ ลำไส้อักเสบ
- อาจเกิดพังผืด จากการผ่าตัดเข้าช่องท้อง
- มีแผลเป็นบริเวณหน้าท้อง
ขั้นตอนการผ่าตัดแปลงเพศ
- ก่อนผ่าตัดแพทย์จะนัดมาโรงพยาบาลก่อนผ่าตัดประมาณ 6 ชั่งโมง เพื่อเตรียมลำไส้ให้สะอาด รับประทานยาระบายเพื่อเตรียมลำไส้ให้สะอาดก่อนการผ่าตัด
- ทำการสร้างช่องคลอดใหม่ และตัดท่อปัสสาวะเพศชายที่ยาวให้สั้นลง แล้วตกแต่งให้ใช้งานเปิดปิดในตำแหน่งที่สามารถนั่งปัสสาวะได้
- ตัดอัณฑะทั้ง 2 ข้าง
- ดึงผิวหนังจากบริเวณอวัยวะเพศชายไปเป็นผนังช่องคลอดโดยหนังที่ถูกนำไปปลูกบริเวณนี้ได้มาจากหนังที่หุ้มอวัยวะเพศชายเดิม ความลึกของช่องคลอดจึงขึ้นอยู่กับความยาวอวัยวะเพศชายเดิมและกระดูกอุ้งเชิงกราน โดยทั่วไป อาจเพิ่มความลึกต่อโดยต่อด้วยหนังหุ้มอัณฑะ หรือตามเทคนิควิธีการที่ตกลงกับแพทย์ไว้ก่อนผ่าตัด
- ตกแต่งรูปร่างภายนอกช่องคลอด แคมนอก (Labia Major) โดยใช้หนังบริเวณที่หุ้มลูกอัณฑะ ด้วยวิธีการตัดลูกอัณฑะออก แล้วนำหนังและเนื้อเยื่อรอบๆมาตกแต่งเพื่อสร้างรูปร่างภายนอกของแคมนอก (Labia Major) ส่วนแคมใน (Labia Minor) ได้มาจากหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ สำหรับตกแต่งอวัยวะเพศภายนอก
- การตกแต่งประสาทรับรู้ความรู้สึกให้เป็นปุ่มรับความรู้สึกของเพศหญิง เรียกว่าปุ่มคลิทอริส (Clitoris) โดยใช้ปลายอวัยวะเพศสำหรับการตกแต่ง
- ใช้เวลาในการผ่าตัดประมาณ 4-5 ชั่วโมง
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- ผู้ป่วยควรงดอาหารและน้ำอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด
- ผู้ป่วยไม่ควรขับรถมาเองในวันผ่าตัด
- ก่อนผ่าตัดผู้ป่วยควรงดรับประทานยาดังต่อไปนี้ ยาแก้ปวดที่ไม่ใช่พาราเซตามอน ยาคุม ยาสมุนไพร วิตามิน หรือยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือดบางชนิด ต้องหยุดรับประทานก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 1 เดือน
- ห้ามดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ ของมึนเมาก่อนการผ่าตัด 1 เดือน
- ไม่ควรนำเครื่องประดับและของมีค่าทุกชนิดมาในวันผ่าตัด ถ้าทรัพย์สินเสียหายทางโรงพยาบาลจะ ไม่รับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
- ในวันผ่าตัดควรใส่เสื้อผ้าหลวมๆ ใส่สบาย ใช่ชุดเดรชกระโปรง เลือกเสื้อที่ติดกระดุมหน้าหรือรูดซิปด้านหน้าเพื่อสะดวกต่อการสวมใส่ รองเท้าให้เลือกรองเท้าสวมสบายไม่หุ้มข้อ ผู้ป่วยจะได้ไม่ต้องก้มเพื่อใส่รองเท้า
- ในวันผ่าตัดตอนเช้าควรอาบน้ำ สระผม โกนขนในที่ลับมาก่อนผ่าตัด
- ในวันผ่าตัดผู้ป่วยต้องไม่ทาสีเล็บ หรือต่อเล็บปลอมใดๆ ที่นิ้วมือ นิ้วเท้า
- ทางโรงพยาบาลไม่อนุญาตให้ญาติมานอนเฝ้าผู้ป่วย
สิ่งที่ผู้ป่วยควรนำมาด้วยในวันผ่าตัด
- ยาประจำตัวของผู้ป่วย
- ชุดหลวมกว้างใส่สบายแนะนำให้เป็นกระโปรงยาวไม่รัดรูป เพื่อใส่กลับบ้าน
- ของใช้ส่วนตัวที่จำเป็น
การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดแปลงเพศ
ผู้ป่วยควรให้ความร่วมมือปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ตัวผู้ป่วย และมาตามที่โรงพยาบาลนัดทุกครั้งอย่างเคร่งครัดเพื่อเลี่ยงปัญหาที่อาจจะเกิดได้ในภายหลัง การมาตามนัดถือเป็นหน้าที่ของผู้ป่วย หากผู้ป่วยผิดนัดแล้วเกิดปัญหาขึ้นในระหว่างนี้ ผู้ป่วยจะไม่สามารถเรียกร้องให้โรงพยาบาลรับผิดชอบได้ เพราะอาจเกิดจากการดูแลตัวเองหลังการผ่าตัดอย่างไม่เหมาะสม
- ผู้ป่วยในระยะหลังการผ่าตัดควรนอนราบและเคลื่อนไหวให้น้อยที่สุด เพื่อลดโอกาสมีเลือดออกหลังการผ่าตัด
- เมื่อทำการตรวจแผลหลังการผ่าตัดสองวันจะได้รับการทำความสะอาดแผลและส่องไฟ ผู้ป่วยควรระมัดระวังอุบัติเหตุจากความร้อนของโคมไฟด้วย
- ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์และเจ้าหน้าที่ในการดูแลหลังผ่าตัดโดยเคร่งครัด
- การทำแผลก่อนกลับบ้านผู้ป่วยบางรายอาจมีสายสวนปัสสาวะคาอยู่ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการบวมของท่อปัสสาวะทำให้ไม่สามารถปัสสาวะได้เองในระยะแรก
- ผู้ป่วยบางรายที่ได้นำสายสวนปัสสาวะออก อาจไม่สามารถปัสสาวะได้เองในระยะหลัง จึงอาจต้องมีการใส่สายสวนปัสสาวะใหม่อีกครั้ง
- สัปดาห์แรกหลังจากออกจากโรงพยาบาลผู้ป่วยมีนัดทำแผลทุกวันเพื่อตรวจสอบการหายของแผลและตรวจความลึกของช่องคลอดเทียม ผู้ป่วยจะต้องมาตามที่โรงพยาบาลนัดอย่างเคร่งครัด
- ผู้ป่วยควรดูแลบาดแผลและแช่น้ำอุ่นตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ และทายาตามความเหมาะสม
- เมื่อเจ้าหน้าที่ประเมินบาดแผลแล้วจะทำการขยายช่องคลอด ผู้ป่วยควรทำความเข้าใจและให้ความร่วมมือขณะทำการขยาย
- เมื่อผู้ป่วยสามารถทำการขยายช่องคลอดได้เองแล้ว จะต้องทำการขยายด้วยตนเองวันละสองครั้ง หากมีอาการตีบของช่องคลอดที่เกิดขึ้นหลังการผ่าตัดเมื่อพ้นระยะการดูแลของโรงพยาบาล (3 เดือนหลังการผ่าตัด) เป็นความรับผิดชอบของผู้ป่วยที่เกิดจากการดูแลตัวเองอย่างไม่เหมาะสมและไม่สามารถเรียกร้องการรับผิดชอบจากทางโรงพยาบาลได้
- ขณะที่อยู่ในช่วงดูแลการหายของบาดแผลไม่ควรรับประทานอาหารย่อยยาก อาหารรสจัด อาหารหมักดอง เพื่อลดโอกาสการเจ็บป่วยหรือท้องเสีย
- ในระยะพักฟื้นควรพักผ่อนมากๆ ไม่ควรเดินเป็นเวลานาน
- ไม่ใส่ยาหรือผงโรยแผลใดๆนอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง
คำถามที่พบบ่อย
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากการผ่าตัดแปลงเพศชายเป็นหญิง มีดังนี้:
- แผลผ่าตัดแยกหรือหายช้าหรือช่องคลอดใหม่หลุดลอกออก พบได้บ่อยพอสมควรเนื่องจากแผลผ่าตัดมีจุดที่ต้องมีการเย็บประกอบขึ้นมาจากผิวหนังหลายส่วน รวมทั้งการดูแลหลังผ่าตัดที่ไม่เหมาะสมหรือการใช้งานอวัยวะเพศใหม่เร็วเกินไป ถ้าแผลแยกหรือหลุดลอกไม่มากอาจใช้การทำแผลไปเรื่อยๆจนแผลหายเองได้ แต่ถ้าเป็นมากอาจจะต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข
- มีเลือดคั่งใต้แผลผ่าตัด
- ช่องคลอดทะลุเข้าไปในลำไส้ใหญ่ ต้องแก้ไขโดยการผ่าตัด ถ้าไม่รุนแรงก็อาจจะเย็บปิดได้เลย แต่ถ้าเกิดการติดเชื้อรุนแรงก็อาจจะต้องระบายอุจจาระออกทางหน้าท้องก่อนเพื่อให้แผลรอยทะลุหายสนิทดีค่อยนำลำไส้กลับเข้าที่เดิม
- ปัสสาวะลำบาก เนื่องจากคนไข้จะต้องใส่ท่อสวนปัสสาวะ จึงอาจจะทำให้รูเปิดท่อปัสสาวะบวมและปัสสาวะไม่ออกในช่วงแรกหลังจากถอดท่อสวนออกแล้ว อาการเหล่านี้พบเห็นได้ทั่วไปและจะหายไปเองเมื่ออาการบวมลดลง นอกจากนี้แล้วคนไข้อาจจะประสบปัญหาเลือดออกในช่วงแรกแต่อาการจะดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปแล้วประมาณ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด
- ช่องคลอดตีบ หลังการผ่าตัดผู้ป่วยจะต้องทำการขยายช่องคลอดอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 6-12 เดือน มิฉะนั้นก็อาจจะเกิดช่องคลอดตีบแคบได้ ถ้าเกิดใหม่ๆหลังการผ่าตัดอาจจะทำการถ่างขยายได้ แต่ถ้าทิ้งเอาไว้นานจนมีพังผืดแข็งก็อาจจำเป็นต้องอาศัยการผ่าตัดแก้ไข
- ช่องคลอดตื้น เช่นเดียวกับช่องคลอดตีบถ้าเกิดในระยะหลังก็จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อหาเนื้อเยื่ออื่นมาเสริมเพื่อเพิ่มความลึกแทน เช่น สำไส้ใหญ่ เป็นต้น
ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดแปลงเพศ ที่ผู้รับการผ่าตัดมักกังวลคือเรื่องของความสวยงามและการรับความรู้สึก ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ขึ้นกับหลายปัจจัย แพทย์ที่มีประสบการณ์ จะสามารถให้คำแนะนำ และเลือกชนิดของการผ่าตัดให้ได้ผลลัพธ์ที่ตรงตามความต้องการ และมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด
ระยะเวลาพักฟื้นหลังผ่าตัด มีดังนี้
- คนไข้จะนอนโรงพยาบาล 6 วัน 5 คืน นับจากวันที่ผ่าตัด
- 4 วันแรกหลังผ่าตัด แพทย์จะยังไม่อนุญาตให้คนไข้ลุกจากเตียง จะมีผ้าก๊อซปิดแผลไว้สองชั้น มีสายสวนปัสสาวะและสายเดรนคาไว้
- ในวันที่ 6 แพทย์จะเปิดผ้าก๊อซออกทั้งหมด และถอดสายเดรนออก แพทย์จะเช็คความลึกและตรวจช่องคลอด หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ สามารถกลับบ้านได้
- ถอดสายปัสสาวะออก 5-7 วัน หลังจากกลับบ้านได้
- หลังผ่าตัดด้วยเทคนิคต่อกราฟ ควรหยุดพักรักษาตัวประมาณ 1 เดือน เพราะจะยังเคลื่อนไหวได้ไม่สะดวก และต้องขยายช่องคลอดทุกวัน โดยแพทย์จะนัดตรวจติดตามจนกว่าแผลผ่าตัดจะหายดี
- สัปดาห์แรกหลังจากออกจากโรงพยาบาล ผู้ป่วยมีนัดทำแผลทุกวัน เพื่อตรวจการหายของแผลและตรวจความลึกของช่องคลอดเทียม
- สัปดาห์ที่สอง ผู้ป่วยมีนัดทำแผลทุกวัน หรือตามนัดในกรณีที่ต้องดูแลพิเศษ เพื่อตรวจการหายของแผล นัดตัดไหม ขยายความกว้าง และตรวจความลึกของช่องคลอดเทียม เพื่อประเมินการหายของช่องคลอดเทียม
- สัปดาห์ที่สาม ผู้ป่วยมีนัดทำแผลทุก 2-3 วัน เพื่อตรวจการหายของแผล ตรวจความลึกของช่องคลอดเทียม
- สัปดาห์ที่สี่ ผู้ป่วยมีนัดทำแผล 1 วัน (ตรวจครบ 1 เดือน) เพื่อตรวจการหายของแผล ตรวจความลึกของช่องคลอดเทียม
- ครบ 3 เดือน ผู้ป่วยมีนัดตรวจการหายของแผล ตรวจความลึกของช่องคลอดเทียม
- อาจมีการติดตามนัดตรวจพิเศษเพิ่มเติมจากแพทย์หรือพยาบาล ในกรณีที่ต้องการดูแลเป็นพิเศษ
ติดต่อเรา
โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งบีจูร์
เลขที่ 1/1 ซ.สุขสวัสดิ์15/1 ถ.สุขสวัสดิ์ แขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร