อัตราค่าบริการ
ผ่าตัดแเสริมหน้าอก
Mammoplastry
Euro – 200,000 บาท
Slimed – 200,000 บาท
Sebbin – 200,000 บาท
Mentor – 300,000 บาท
Mentor xtra gel – 400,000 บาท
Motiva silk surface – 380,000 บาท
Motiva ergonomix – 400,000 บาท
การผ่าตัดเสริมหน้าอก
การผ่าตัดเสริมหน้าอกเป็นการผ่าตัดเพื่อเพิ่มขนาดของเต้านมให้มีขนาดใหญ่ขึ้น นอกจากเป็นการศัลยกรรมเพื่อความสวยงาม ยังเป็นการแก้ปัญหาให้กับคนหน้าอกเล็ก มีปัญหาหน้าอกหย่อนคล้อย ช่วยเพิ่มเสน่ห์ให้กับสรีระของผู้หญิง และยังรวมไปถึงแก้ไขความผิดปกติที่เกิดจากการรักษามะเร็งเต้านม ทำให้มีหน้าอกมาทดแทน เสริมสร้างความมั่นใจให้กับตนเอง โดยการผ่าตัดเสริมหน้าอกที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ได้รูปทรงหน้าอกที่เหมาะกับสรีระยังขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ ซึ่งมีทั้งการเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคน การเสริมหน้าอกด้วยการฉีดไขมัน ขึ้นอยู่กับเทคนิคของแพทย์และการเลือกโรงพยาบาลที่มีแพทย์ผู้ให้บริการมีความเชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมเสริมหน้าอก
ตัวอย่างเคสคนไข้
การเสริมหน้าอกมีกี่แบบ
การผ่าตัดเสริมหน้าอกของแต่ละบุคคล นอกจากเรื่องของความสวยงามและปัญหาที่ทำให้ต้องเสริมหน้าอก ซึ่งก็จะแตกต่างกันไปแล้ว ปัจจัยหรือองค์ประกอบของตัวบุคคลก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ต้องเลือกรูปแบบ เลือกเทคนิคในการผ่าตัด หรือเลือกวัสดุที่ใช้ตกแต่งและเสริมหน้าอกที่แตกต่างกัน การศัลยกรรมเสริมหน้าอกของแต่ละบุคคล จึงต้องอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ผู้ศัลยกรรม โดยทั่วไปการเสริมหน้าอกมีอยู่ 3 รูปแบบ ดังนี้
- การเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคน คือการใช้เต้านมเทียม หรือซิลิโคนเสริมหน้าอกใส่เข้าไปในหน้าอก เพื่อให้หน้าอกมีขนาดใหญ่ขึ้น
- การฉีดไขมันหน้าอก เป็นการดูดไขมันของตนเองมาใช้ในการเสริมหน้าอก ผลลัพธ์ที่ได้หน้าอกจะสวยเป็นธรรมชาติ เหมือนหน้าอกจริง แต่จะไม่สามารถเพิ่มขนาดให้ใหญ่มากๆได้ในครั้งเดียว
- การเสริมหน้าอกไฮบริด เป็นการเสริมหน้าอกด้วยเทคนิคใหม่ โดยการใช้วิธีการเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนและการเสริมหน้าอกด้วยการเติมไขมันหน้าอกมาใช้ร่วมกัน ซึ่งเทคนิคนี้เหมาะสำหรับคนที่ต้องการได้ขนาดหน้าอกที่ใหญ่ขึ้น ข้อดีคือการเสริมด้วยซิลิโคนเป็นการเสริมหน้าอกให้มีขนาดใหญ่ขึ้น และต้องการความเป็นธรรมชาติสูงด้วยการใช้ไขมันของตนเอง
ขนาดหน้าอก
เลือกให้เหมาะกับตัวเรา
การผ่าตัดเสริมหน้าอก เพื่อให้ได้ส่วนเว้าส่วนโครงที่สวยงามและเป็นการเสริมหน้าอกที่ดี ไม่ใช่เพียงการเพิ่มขนาดใหญ่ขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการเสริมหน้าอกที่เข้ากับสรีระและโครงสร้างของร่างกายเป็นหลัก วิธีเลือกขนาดของหน้าอกให้เหมาะกับตนเองหรือเลือกขนาดว่าควรทำกี่ CC พิจารณาหรือประเมินได้จากสิ่งต่อไปนี้
- โครงสร้างหน้าอก คนเรามีรูปร่างและโครงสร้างหน้าอกแตกต่างกัน การเสริมหน้าอกให้ได้รูปทรงสวย เหมาะสมกับสรีระ หรือมีขนาดใหญ่ตามความต้องการ แพทย์ผู้ศัลยกรรมจะพิจารณาจากโครงสร้างของหน้าอกเป็นหลัก
- ประเมินจากความกว้างของซี่โครง การผ่าตัดเสริมหน้าอกสำหรับขนาดของเต้านมเทียม แม้ว่าจะขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ศัลยกรรม แต่การเลือกขนาด CC ที่เหมาะสม ยังขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์ โดยพิจารณาได้จากความกว้างของซี่โครง
- รูปร่างและรูปทรงของร่างกาย การเลือกขนาดของหน้าอกว่าควรทำกี่ CC เพื่อให้ได้หน้าอกที่สวยงาม เหมาะสม ส่วนหนึ่งยังพิจารณาหรือประเมินได้จากรูปร่างและรูปทรงของร่างกาย เพราะความโดดเด่นดูดีไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดหน้าอกเพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสรีระร่างกายอีกด้วย
- ความสูงและเนื้อเดิมที่มี วิธีเลือกขนาดของหน้าอกให้เหมาะกับตนเอง นอกจากประเมินได้จากหลายๆปัจจัยแล้ว ความสูงและเนื้อเดิมที่มีก็เป็นส่วนหนึ่งที่แพทย์จะต้องนำมาพิจารณา เนื่องจากบางรูปทรงและขนาดของหน้าอกแม้จะเป็นสิ่งที่ผู้ศัลยกรรมต้องการ แต่หากทำแล้วไม่สมดุลเหมาะสม มีความยุ่งยากและฝืนธรรมชาติ แพทย์จะให้คำแนะนำปรึกษาในการเลือกขนาดและรูปทรงที่เหมาะสม
เสริมหน้าอกด้วยซิลิโคน
ซิลิโคนเสริมหน้าอกถือเป็นวัสดุที่มีความปลอดภัยและนิยมใช้ในการศัลยกรรมเสริมหน้าอก เนื่องจากได้รับการพิสูจน์แล้วว่าซิลิโคนเมื่อใส่ในร่างกายจะไม่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ถุงซิลิโคนสามารถอยู่ในร่างกายของคนเราได้ตลอดชีวิต กรณีที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ซิลิโคนที่ใช้เสริมหน้าอกมีขนาดและความนูนหลายระดับการเลือกซิลิโคนเสริมอก จะขึ้นอยู่กับความต้องการของคนไข้ สภาพร่างกาย และการพิจารณาของแพทย์ โดยจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ ได้แก่ ซิลิโคนเสริมหน้าอกทรงกลม และ ซิลิโคนเสริมหน้าอกทรงหยดน้ำ
การผ่าตัดเพิ่มขนาดหน้าอกโดยการใส่ถุงเต้านมเทียมหรือซิลิโคนเป็นวัสดุชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยม ซิลิโคนเสริมหน้าอก คือสารเคมีชนิดหนึ่งที่สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย รวมไปถึงการนำมาใช้เพื่อเป็นถุงเต้านมเทียมหรือที่นิยมเรียกกันว่าซิลิโคน การเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนเป็นการใช้เต้านมเทียมหรือซิลิโคนใส่เข้าไปบริเวณหน้าอก เพื่อให้หน้าอกมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นและเห็นผลลัพธ์ได้ทันทีหลังการศัลยกรรม
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- ผู้ป่วยควรงดอาหารและน้ำอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด
- ผู้ป่วยไม่ควรขับรถมาเองในวันผ่าตัด
- ก่อนผ่าตัดผู้ป่วยควรงดรับประทานยาดังต่อไปนี้ ยาแก้ปวดที่ไม่ใช่พาราเซตามอน เช่น แอสไพริน (Aspirin) ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) วาร์ฟารีน (Warfarin) ยาสมุนไพร วิตามิน หรือยาอื่นๆ ที่อาจส่งผลให้เลือดแข็งตัวได้ยาก ต้องหยุดรับประทานก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 14 วัน
- สิ่งที่จำเป็นต้องแจ้งกับศัลยแพทย์ คือ โรคประจำตัวที่เป็น ยาที่ใช้ อาหารเสริม (ทั้งสมุนไพรและสารสังเคราะห์ต่างๆ) และสำคัญที่สุดคือหากมีแผนกำลังจะมีบุตรให้แจ้งกับศัลยแพทย์ด้วย
- ห้ามดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ อาหารเสริม งดอย่างน้อย 2 อาทิตย์ ก่อนการผ่าตัด หลีกเลี่ยงการผ่าตัดช่วงที่มีประจำเดือน
- ไม่ควรนำเครื่องประดับและของมีค่าทุกชนิดมาในวันผ่าตัด เพราะถ้าเกิดความสูญหายหรือเสียหายทางโรงพยาบาลจะไม่รับผิดชอบทุกกรณี
- ในวันผ่าตัดควรใส่เสื้อผ้าหลวมๆ ใส่สบาย เลือกเสื้อที่ติดกระดุมหน้าหรือรูดซิปด้านหน้าเพื่อสะดวกต่อการสวมใส่ รองเท้าให้เลือกรองเท้าสวมสบายไม่หุ้มข้อ ผู้ป่วยจะได้ไม่ต้องก้มเพื่อใส่รองเท้า
- ในวันผ่าตัดตอนเช้าควรอาบน้ำ สระผม ก่อนผ่าตัด ไม่แนะนำให้ใส่คอนแทคเลนส์
- ในวันผ่าตัดผู้ป่วยต้องไม่ทาสีเล็บ หรือต่อเล็บปลอมใดๆ ที่นิ้วมือ-เท้า
- ทางโรงพยาบาลไม่อนุญาตให้ญาติมานอนเฝ้าผู้ป่วย
คำถามที่พบบ่อย
ผู้ป่วยควรให้ความร่วมมือปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ตัวผู้ป่วย และมาตามที่โรงพยาบาลนัดทุกครั้งอย่างเคร่งครัดเพื่อเลี่ยงปัญหาที่อาจจะเกิดได้ในภายหลัง การมาตามนัดถือเป็นหน้าที่ของผู้ป่วย หากผู้ป่วยผิดนัดแล้วเกิดปัญหาขึ้นในระหว่างนี้ ผู้ป่วยจะไม่สามารถเรียกร้องให้โรงพยาบาลรับผิดชอบได้ เพราะอาจเกิดจากการดูแลตัวเองหลังการผ่าตัดอย่างไม่เหมาะสม
- ผู้ป่วยในระยะหลังการผ่าตัดควรนอนศีรษะสูงและเคลื่อนไหวให้น้อยที่สุด เพื่อลดโอกาสมีเลือดออกหลังการผ่าตัด
- ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์และเจ้าหน้าที่ในการดูแลหลังผ่าตัดโดยเคร่งครัด
- ขณะที่อยู่ในช่วงดูแลการหายของบาดแผลไม่ควรรับประทานอาหารย่อยยาก อาหารรสจัด อาหารหมักดอง เพื่อลดโอกาสการเจ็บป่วยหรือท้องเสีย
- ในระยะพักฟื้นควรพักผ่อนมากๆ ไม่ควรเดินเป็นเวลานาน ไม่ใส่ยาหรือผงโรยแผลใดๆนอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง
- งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่ 1 เดือน
- ถ้ามีอาการปวดมากหรือมีไข้ ผู้ป่วยสามารถติดต่อที่ Tel.087-9776277 หรือเข้าพบแพทย์ได้ที่โรงพยาบาล
- การปวดตึงของกล้ามเนื้อ จะเริ่มปวดตั้งแต่ตอนเย็นวันทำการผ่าตัด และจะค่อย ๆลดลงจนดีขึ้นประมาณ 3 วัน
- ผู้ป่วยสามารถเช็ดตัวได้ตามปกติ ระวังอย่าให้แผลเปียก ถ้าผ้าพันหลุดให้พันกลับเหมือนเดิมใน 7 วัน
- ต้องระวังไม่ให้แผลเปียกชื้น เพราะอาจทำให้อักเสบหรือติดเชื้อได้ สามารถอาบน้ำถูสบู่ได้ตามปกติหลังการตัดไหม 1 วัน
- ควรใส่ซัพพอร์ทบราทั้งกลางวันและกลางคืนในช่วง 1-2 เดือนแรก หลังตัดไหม
- วันที่ 10-14 วันหลังผ่าตัด จะนัดมาตัดไหมและตรวจเต้านม โดยเริ่มสอนให้นวดหน้าอกเบา ๆ
- ไม่ควรยกของหนัก หรือออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อหน้าอก ประมาณ 3 อาทิตย์ ห้ามยกแขนสูง
- อาทิตย์ที่ 2 ผู้ป่วยเริ่มทำการนวดเต้านมวันละ 15-30 นาที อย่างน้อย 2 ครั้ง/วัน (เช้า-เย็น) ควรทำเป็นประจำอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป เพื่อไม่ให้เกิดพังพืดหดรัดซิลิโคนทำให้เต้านมแข็งเป็นก้อน
- ถ้ามีอาการชาเกิดขึ้นหลังการผ่าตัดไม่ต้องตกใจ เพราะเป็นผลจากกล้ามเนื้อช้ำจากการผ่าตัด จะกลับเป็นปกติภายใน 3-6 เดือน ถ้ามีอาการเจ็บจี๊ดหรือปวดเล็กน้อยถือเป็นอาการปกติ แสดงว่า แผลภายในใกล้หายแล้ว พังผืดสามารถเกิดขึ้นได้ ให้หมั่นนวดเป็นประจำ
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากการผ่าตัดเสริมหน้าอก มีดังนี้:
- ภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาชา ยาสลบ เช่นแพ้ยาชา ยาสลบ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดหัว ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นผิดปกติ ในผู้ป่วยบางรายอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
- ภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดเสริมหน้าอกและวัสดุที่ใช้เสริมหน้าอก เช่นห้อเลือด มีเลือดคลั่ง ผิวหนังเต้านมตาย ติดเชื้อที่เต้านม ติดเชื้อที่ผิวหนัง พังพืดหดรัดตัว เจ็บชาหัวนม มีแผลเป็นนูน มีแผลเป็นขนาดใหญ่ ซิลิโคนทะลุ ซิลิโคนเหลวรั่ว หัวนมและนมบิดผิดรูป ซิลิโคนอยู่ผิดที่ ซึ่งพบได้น้อยมักพบเพียง 1% ที่อาจจะต้องมีการผ่าตัดแก้ไข
- อาจเกิดหลอดเลือดดำที่ผิวหนังอุดตันเต้านมอักเสบ ทำให้มีอาการเจ็บ บวม มีก้อนที่เต้านม ซึ่งพบได้ไม่บ่อย
- ผ่าตัดเปลี่ยนซิลิโคน การคงรูปของเต้านมที่เสริม ขึ้นอยู่กับอายุ รูปร่าง ชนิดของซิลิโคน และจำนวนปีที่ทำผ่านไป ซึ่งซิลิโคนส่วนมากจะมีอายุการใช้งานที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อและชนิด
ติดต่อเรา
โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งบีจูร์
เลขที่ 1/1 ซ.สุขสวัสดิ์15/1 ถ.สุขสวัสดิ์ แขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร